วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ความหมาย FTP, RSS ,Mashups ,Widgels ,Gadgets ,Artificial intelligence,Phishing

      1. FTP คือ
     FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol คือโปรโตคอลเครือข่ายชนิดหนึ่งถูกนำใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างการถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง ไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย เรียกว่า โฮสติง (hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งทำให้การถ่ายโอนไฟล์ง่ายและปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ต การใช้ FTPที่พบบ่อยสุด ก็เช่น การดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต ความสามารถในการถ่ายโอนไฟล์ ทำให้ FTP เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนที่สร้างเว็บเพจ ทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ รหัสผู้เข้าใช้ password) ก่อน และโปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่นโปรแกรม Filezilla,CuteFTP หรือ WSFTP ในการติดต่อ เป็นต้น
FTP แบ่งเป็น 2ส่วน
1. FTP server เป็นโปรแกรมที่ถูกติดตั้งไว้ที่เครื่องเซิฟเวอร์ ทำหน้าที่ให้บริการ FTP หากมีการเชื่อมต่อจากไคลแอนเข้าไป
2. FTP client เป็นโปรแกรม FTP ที่ถูกติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ user ทั่วๆไป ทำหน้าที่เชื่อมต่อไปยัง FTP server และทำการอัพโหลด, ดาวน์โหลดไฟล์ หรือ จะสั่งแก้ไขชื่อไฟล์, ลบไฟล์ และเคลื่อนย้ายไฟล์ก็ได้เช่นกัน
ความสำคัญของ FTP
     โดยปกติเมื่อเราต้องการทำเว็บไซต์ไม่ว่าด้วยจุดประสงค์ใดก็ตาม สิ่งที่เราจะต้องนึกถึงและขาดไม่ได้คือ Hosting หรือ Server ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก การที่เว็บไซต์ของเราสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีหยุดนั้น ก็เพราะ Hosting ไม่เคยปิดนั่นเอง ส่วนการสร้างเว็บไซต์เกิดจากการเขียน Code โปรแกรม ไม่ว่าจะเขียนด้วยภาษา HTML , PHP , ASP , ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ต้องนำไฟล์ที่เราเขียนเสร็จเรียบร้อยไปใส่บน Hosting เพื่อสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน แต่ด้วยหนทางที่อยู่ไกลกันระหว่างเรากับ Hosting ที่เราขอใช้บริการไว้ เราจึงต้องใช้เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ ในการโอนย้ายไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา กับ Hosting ซึ่งเทคโนโลยีนั้นคือ FTP นั่นเอง
ข้อมูลอ้างอิง
http://com.d-ja.com
http://th.easyhostdomain.com
http://simplemachines.in.th


2.RSS คือ

RSS หรือ Rally Simple Syndication เป็นบริการใหม่บนเว็บไซต์ภาษา XML ใช้สำหรับดึงข่าวจากเว็บต่างๆ มาแสดงบนหน้าเว็บเพจ โดยนำมาเฉพาะหัวข้อข่าว เมื่อผู้ใช้คลิกลิงค์ก็จะแสดงรายละเอียดข่าวในเว็บต้นฉบับนั้นๆ โดยที่หัวข้อข่าวจะอัปเดทตามเว็บต้นทาง ซึ่งการดึงหัวข้อข่าวไปแสดงนั้นจะมีส่วนประกอบทั้งหมดสามส่วนคือส่วนผู้ให้บริการดึงข่าว และส่วนผู้สร้างเว็บไซต์ใช้ทั่วไปที่ต้องการดึงข่าวไปแสดง และส่วนผู้ใช้ทั่วไป

RSS ช่วยลดข้อจำกัดในการคัดลอกข้อมูลในเว็บไซต์โดยเฉพาะกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ ขณะที่ผู้สร้างไม่ต้องเสียเวลาทำหน้าเพจแสดงข่าว ซึ่งต้องทำทุกครั้งเมื่อต้องการเพิ่มข่าว โดย RSS จะดึงข่าวมาอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลบนเว็บไซต์เป็นศูนย์กลางมากขึ้น

ปัจจุบัน RSS ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปแบบกลางในการบริการข้อมูลทางธุรกิจ และมีการแข่งขันกันสูง โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการแชร์ข้อมูล เช่นเว็บไซต์ข่าว เว็บล็อก ซึ่งจะมีการแสดงข้อมูลบนหน้าต่างพรีวิวแยกต่างหากเพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสน รวมถึงสามารถสืบค้นข้อมูลได้

จุดเด่นของ RSS คือผู้ใช้จะไม่จำเป็นต้องเข้าไปตามเว็บไซต์ต่างๆเพื่อดูว่ามีข้อมูลอัปเดทใหม่หรือไม่ ขณะที่เว็บไซต์แต่ละแห่งอาจมีระยะความถี่ในการอัปเดทไม่เท่ากัน บางครั้งผู้ใช้ยังอาจหลงลืมจนเข้าไปดูเนื้อหาอัปเดทใหม่บนเว็บไม่ครบถ้วน รูปแบบ RSS จะช่วยให้ผู้สามารถรับข่าวสารอัปเดทใหม่ได้โดยไม่ต้องเข้าไปดูทุกครั้งให้เสียเวลา ได้ประโยชน์ทั้งฝ่ายผู้บริโภคและฝ่ายเจ้าของเว็บไซต์
http://mantiser.blogspot.com/2012/08/rss-feed.html
Mashup เป็นการผสมผสาน ความสมารถหรือข้อมูล ของเวบใดเวบหนึ่ง
เช่น คุณอยากทำระบบติดตามรถหาย โดยแสดงผลเป็นแผนที่ แต่คุณไม่มีข้อมูลแผนที่เป็นของตัวเอง
จึงต้องไปใช้บริการของ Google maps หรือ Yahoo maps หรือแม้กระทั่ง Bing m   aps
การที่คุณดึงเอา "ข้อมูล" แผนที่ มาผสมกับ "ข้อมูล" ของคุณ ลักษณะนี้เรียกว่า Mashup ครับ
e

3.Mashups คือ

Mashup คืออะไร
เป็นวิธีการหนึ่งในการการสร้าง application ( Rich Application, Web Application ) ด้วยการดึงข้อมูลจากแหล่งที่มา ( Sources : Web Site .. etc. ) หลายๆแหล่ง มารวมกันเพื่อสร้าง application ใหม่ๆ ขึ้นมา ตัวอย่างเช่น Google Map เป็นต้น ถ้าเปรียบกำหารแต่งเพลง ก็คือการ mix เพลง นั่นเอง ซึ่งจะเรียกว่าการ MashUp

เนื้อหา ( Content ) ที่ใช้งานในการทำ MashUp นั้นจะเรียกใช้ผ่าน Public Interface หรือ API ที่ผู้ให้บริการ ( Provider ) จัดเตรียมไว้ให้ โดย API เหล่านี้จะมีการรับส่งข้อมูลในลักษณะที่เป็น Web Feed เช่น RSS, Atom, Web Services และ Screen Scraping เป็นต้น
Vendor เจ้าใหญ่ๆ ให้ความสนใจในการทำ MashUp อย่างกว้างขวาง เช่น Microsoft, Google, eBay, Amazon, Flickr และ Yahoo โดย vendor เหล่านี้จะเตรียมโปรแกรมช่วยในการทำMashUp ซึ่งเรียกว่า MashUp Editor
MashUp Editor คือ WYSUWYG ของ MashUp นั่นเอง โดยเครื่องมือตัวนี้จะมีหน้าตามเป็น Graphic User Interface ใช้งานง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น  


ประเภทของ MashUp
MashUp แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. Consumer MashUp
2. Data MashUp
3. Business MashUp

1.Consumer MashUp
เป็นการรวมข้อมูลจากหลายๆ ที่มารวมกันไว้ แล้วทำซ่อนข้อมูลเหล่านี้ด้วยการแสดงผลแบบ GUI ตั้วอย่างที่เห้นได้ชัดเจนคือ Google Map นั่นเอง


2.Data MashUp หรือ Enterprise MashUp
เป็นการรวมข้อมูลจากหลายๆ ที่มารวมกันไว้ โดยจะไม่มีส่วนแสดงผล เช่น RSS, Atom เป็นต้น ถ้าเป็น website ก็เช่น www.rssthai.com


3.Business MashUp
เป็นการรวมทั้ง Consumer MashUp และ Data MashUp เข้าด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้งานใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้นนระบบ business application


เมื่อผมลองค้นหาใน internet ก็ได้พอกับ Software ทั้งฟรีและเสียเงิน ซึ่งจะเป็นระบบ MashUp ที่รวม content จากที่ต่างๆ มาเก็บไว้เพื่อเตรียมให้บริการ เช่น

http://openkapow.com
http://www.kapowtech.com

อ้างอิง http://en.wikipedia......ation_hybrid)
http://www.programmableweb.com

4.Widgels คือ


Widget (วิดเจ็ต) คือ Application เหมือนกับ App ตัวอื่น ๆ ที่คุณสามารถ Download ได้จาก Google Play ผู้ผลิต App บางรายนอกจากจะสร้าง App ขึ้นมาแล้ว ก็จะสร้างวิดเจ็ตให้กับ App นั้น ๆ ด้วย หากคุณเคยสังเกต Smartphone ของคุณ จะเห็นว่ามีหน้าแรกซึ่งวางไอค่อนของ App ต่าง ๆ และมีส่วนที่ไม่ใช่ไอค่อน เช่น ส่วนที่เป็นการค้นหาของ Google จะไม่เป็นรูปปุ่มเหมือนกับไอค่อนทั่ว ๆ ไป แต่จะเป็นแถบค้นหาเพื่อให้คุณสามารถพิมพ์ข้อความที่ต้องการค้นหาได้ทันทีโดยไม่ต้องเปิดโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ หรือ App ที่ใช้สำหรับพยากรณ์อากาศ คุณก็จะมองเห็นกราฟฟิกส์ที่สวยงามไม่ว่าจะเป็นรูปก้อนเมฆ รูปดวงอาทิตย์ รูปดวงจันทร์ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นวิดเจ็ดทั้งสิ้น

การ Download Widget มาใช้งาน เหมือนกับการ Download App ทั่วๆ ไป เมื่อ Download เสร็จเรียบร้อยคุณจะมองเห็น Widget ปรากฏอยู่ในส่วนของหน้าแรกบน Smartphone ของคุณ นอกจากจะทำให้ Smartphone ของคุณมีความสวยงามเพิ่มมากขึ้นแล้ว คุณยังสามารถใช้งาน App นั้น ๆ ได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องไปกดปุ่มไอค่อนเพื่อเปิดใช้งาน App อีกด้วย

อ้างอิง http://drippler.com/updates/share/40-minimalist-and-customisable-widgets


5.Gadgets คือ

แก็ดเจ็ต มีความหมายว่า อุปกรณ์ คำ คำนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันไม่นานนี่เอง จะนำมาใช้ในรูปแบบของโปรแกรมเสริม เล็กๆน้อยๆ เช่น นาฬิกาบนwindows 7 โปรแกรมเสริมการรายงานข่าว และเริ่มมีการใช้กับอุปกรณ์ที่ทันสมัย เช่น สิ่งประดิษฐ์ด้านเทคโนโลยีที่มันสมัย และมีขนาด ทั้งด้านความจุหรือปริมาณไม่มาก (ขนาดเล็ก) ส่วนใหญ่จะเน้น ด้านความบันเทิง ความสนุก ความสะดวก เราคงจะพอทราบความหมายของคำว่า Gadget กันบ้างแล้วใช้ไหม สรุปก็คือ สิ่งประดิษฐ์ ขนาดเล็กๆ ในดานเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม หรืออุปกรณ์ ก็สามารถเรียกว่า Gadget ได้เหมือนกัน แต่จะเป็นประเภทไหนแค่นั้นเอง
Gadget  คือ  เทคโนโลยีขนาดเล็ก ซึ่งอาจจะเป็นโปรแกรมหรือสิ่งประดิษฐ์ที่มีใช้งานกันอยู่ในหลาย ๆ ด้าน ส่วนใหญ่จะเป็นด้านความบันเทิง หรือเพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย   ตัวอย่างเช่น ในหน้าจอของ Window Vista นักเรียน คงจะเคยเห็นนาฬิกา ปฏิทิน หรือโน้ต ที่ไว้แปะเตือนความจำบน Desktop     เหล่านี้ล่ะค่ะเป็นตัวอย่างของสิ่งที่ถูกเรียกว่า  Gadget 

Microsoft ได้แบ่ง Gadget ออกเป็น 3 ประเภท  ได้แก่
1.  Web gadgets  คือ  โปรแกรมที่ทำงานบนเว็บไซต์ เช่น Live.com หรือ Spaces.Live.com 


2. Sidebar gadgets  คือ โปรแกรมที่ทำงานบน Desktop หรือที่วางอยู่ด้านข้างของ Window (Windows Sidebar)

3. SideShow gadgets  คือ อุปกรณ์ที่ทำงานแสดงผลรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น ฝาด้านนอกของ Laptop   หรือ   panel บนคีย์บอร์ดและมือถือ
สรุปว่า Gadget คือสิ่งประดิษฐ์ของเทคโนโลยีขนาดเล็ก ซึ่งอาจจะเป็นโปรแกรม อุปกรณ์  หรือแม้แต่ของเล่นที่มีการใส่ความทันสมัยเข้าไปเพื่อมอบความบันเทิงให้กับผู้ใช้นั่นเอง  คราวนี้ถ้าน้อง ๆ ได้ยินคนอื่นพูดถึง Gadget รับรองได้ว่าเข้าใจและไม่ตกยุคแล้วค่ะ
Widget (วิจิท) คือ ชุดคำสั่งโปรแกรมขนาดเล็ก หรือโปรแกรมสำหรับการควบคุมในการทำงานที่สร้างจากโปรแกรมแฟลช หรือจาวาสคริปต์ ช่วยรองรับการทำงานของอินเตอร์เฟสกับแอพพลิเคชั่นหรือระบบปฏิบัติการ Widget ที่พบกันบ่อยๆ เช่น ปุ่ม ไอคอน และแถบเมนู Widget ถูกนำไปติดไว้บนเว็บไซต์ต่าง ๆ หน้าจอคอมพิวเตอร์  รวมถึง บล็อค และมือถือด้วย

อย่างล่าสุด ที่ทีดับบลิวแซด ได้ออกมือถือรุ่นใหม่ TWZ-TD8 ที่มีฟังก์ชั่น Widget นี้อยู่ด้วย หากสงสัยว่า เจ้า Widget นี้ทำงานอย่างไรบนมือถือ ลองมาดูกันคะ

ในวงการโทรศัพท์มือถือ Widget ถือเป็นน้องใหม่ ที่เพิ่มสีสันและลูกเล่นในการใช้งานมือถือมากขึ้นโทรศัพท์มือถือโดยทั่วไป ผู้ใช้ต้องทำการเลือก Widget ที่ตัวเองต้องการและสมัครสมาชิกบนเว็บ จากนั้นโหลดโปรแกรมของผู้ให้บริการ Mobile Widget ลงเครื่อง และล็อกอินถึงจะใช้งาน Widget ที่ตัวเองเลือกไว้ได้

แต่สำหรับ TWZ-TD8 ถูกผลิตขึ้นพร้อมซอฟแวร์ตัว Widget ในตัว เพียงคุณเลือกเมนูที่ต้องการแล้วลากออกมาจากแถบเมนู แค่นี้คุณก็สามารถใช้งานได้แล้ว ทั้งง่ายและสะดวกใช่ไหมคะ





 6.Artificial intelligence  คือ

Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเองได้ หรือมีปัญญานั่นเอง ปัญญานี้มนุษย์เป็นผู้สร้างให้คอมพิวเตอร์ จึงเรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ มุมมองต่อ AI ที่แต่ละคนมีอาจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่า เราต้องการความฉลาดโดย คำนึงถึงพฤติกรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อมหรือคำนึงการคิดได้ของผลผลิต AI ดังนั้นจึงมีคำนิยาม AI ตามความสามารถที่มนุษย์ต้องการให้มันแบ่งได้ 4 กลุ่ม ดังนี้

Acting Humanly : การกระทำคล้ายมนุษย์ เช่น
- สื่อสารกับมนุษย์ได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language processing) อย่างหนึ่ง เช่น เพื่อน ๆ ใช้เสียงสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์เอกสารให้
- มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่นคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) คอมพิวเตอร์มองเห็น รับภาพได้โดยใช้อุปกรณ์รับสัญญาณภาพ (sensor)
- หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ เช่น ดูดฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ
- machine learning หรือคอมพิวเตอร์เกิดการเรียนรู้ได้ โดยสามาถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้

Thinking Humanly : การคิดคล้ายมนุษย์ ก่อนที่จะทำให้เครื่องคิดอย่างมนุษย์ได้ ต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์มีกระบวนการคิดอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์ลักษณะการคิดของมนุษย์เป็นศาสตร์ด้าน cognitive science เช่น ศึกษาโครงสร้างสามมิติของเซลล์สมอง การแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าระหว่างเซลล์สมอง วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกายระหว่างการคิด ซึ่งจนถึงปัจจุบันเราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า มนุษย์เรา คิดได้อย่างไร

Thinking rationally : คิดอย่างมีเหตุผล หรือคิดถูกต้อง โดยใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ

Acting rationally : กระทำอย่างมีเหตุผล เช่น agent (agent เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำ หรือเป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ) สามารถกระทำอย่างมีเหตุผลคือ agent ที่กระทำการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ เช่น agent ในระบบขับรถอัตโนมัติที่มีเป้าหมายว่าต้องไปถึงเป้าหมายในระยะทางที่สั้นที่สุด ต้องเลือกเส้นทางที่ไปยังเป้าหมายที่สั้นที่สุดที่เป็นไปได้จึงจะเรียกได้ว่า agent กระทำอย่างมีเหตุผล อีกตัวอย่างเช่น agent ในเกมหมากรุกมีเป้าหมายว่าต้องเอาชนะคู่ต่อสู้ ต้องเลือกเดินหมากที่จะทำให้คู่ต่อสู้แพ้ให้ได้ เป็นต้น

อ้างอิงhttp://www.us-cert.gov/cas/tips/ST04-014.html

7.Phishing คือ     

Phishing คือคำที่ใช้เรียกเทคนิคการหลอกลวงโดยใช้อีเมลหรือหน้าเว็บไซต์ปลอมเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล เช่น ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือสร้างความเสียหายในด้านอื่น ๆ เช่น ด้านการเงิน เป็นต้น ในบทความนี้จะเน้นในเรื่องของ Phishing ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อหลอกลวงทางการเงิน เนื่องจากจะทำให้ผู้อ่านมองเห็นผลกระทบได้ง่าย



คำว่า Phishing เป็นคำพ้องเสียงจากคำว่า Fishing ซึ่งหมายถึงการตกปลา หากจะเปรียบเทียบง่าย ๆ ผู้อ่านสามารถจินตนาการได้ว่า เหยื่อล่อที่ใช้ในการตกปลา ก็คือกลวิธีที่ผู้โจมตีใช้ในการหลอกลวงผู้เสียหาย ซึ่งเหยื่อล่อที่เด่น ๆ ในการหลอกลวงแบบ Phishing มักจะเป็นการปลอมอีเมล หรือปลอมหน้าเว็บไซต์ที่มีข้อความซึ่งทำให้ผู้เสียหายอ่านแล้วหลงเชื่อ เช่น ปลอมอีเมลว่าอีเมลฉบับนั้นถูกส่งออกมาจากธนาคารที่ผู้เสียหายใช้บริการอยู่ โดยเนื้อความในอีเมลแจ้งว่า ขณะนี้ธนาคารมีการปรับเปลี่ยนระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลลูกค้า และธนาคารต้องการให้ลูกค้าเข้าไปยืนยันความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคลผ่านทางลิงก์ที่แนบมาในอีเมล เป็นต้น เมื่อผู้เสียหายคลิกที่ลิงก์ดังกล่าว ก็จะพบกับหน้าเว็บไซต์ปลอมของธนาคารซึ่งผู้โจมตีได้เตรียมไว้ เมื่อผู้เสียหายเข้าไปล็อกอิน ผู้โจมตีก็จะได้ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของผู้เสียหายไปในทันที ในหลาย ๆ ครั้งการหลอกลวงแบบ Phishing จะอาศัยเหตุการณ์สำคัญที่เกิดในช่วงเวลานั้น ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสของการหลอกลวงสำเร็จ เช่น อาศัยช่วงเวลาที่มีภัยธรรมชาติหรือโรคระบาด โดยปลอมเป็นอีเมลจากธนาคารเพื่อขอรับบริจาค เป็นต้น

หน้าเว็บไซต์ปลอมบางหน้าจะใช้วิธีการที่แยบยลนั่นคือการฝังโทรจันที่สามารถขโมยข้อมูลที่ต้องการมากับหน้าเว็บไซต์ปลอมนั้นด้วย เช่น โทรจันที่ทำหน้าที่เป็น Key-logger ซึ่งจะคอยติดตามว่าผู้เสียหายพิมพ์คีย์บอร์ดอะไรบ้าง เป็นต้น เมื่อผู้เสียหายหลงกล กดลิงก์ตามเข้ามาที่หน้าเว็บไซต์ปลอมก็จะติดโทรจันชนิดนี้ไปโดยอัตโนมัติ และหากผู้เสียหายทำการล็อกอินเข้าใช้งานระบบใด ๆ ข้อมูลชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน ของระบบนั้นก็จะถูกส่งไปยังผู้ไม่ประสงค์ดี



อ้างอิงhttp://www.thaicert.or.th/statistics2011.html




วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

E1/E2 ทดสอบประสิทธิภาพของสื่อและนวัตกรรม

                              
                 E1/E2 ทดสอบประสิทธิภาพของสื่อและนวัตกรรม


           ในการพัฒนานวัตกรรม ไม่ว่าจะอยู่ในรูปสื่อการเรียนการสอน หรือ วิธีสอนก็ตาม ต้องมีการตรวจสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นว่ามีคุณภาพมากน้อย เพียงใด โดยทั่วไปนิยมนำเสนอในรูป E1/E2 (อ่าน E1 ทับ E2) และ/หรือ E1:E2 (อ่าน E1 ต่อ E2) หลายท่านอาจจะเข้าใจผิดคิดว่ามันอยู่ในรูปเศษส่วน หรือ อัตราส่วน แท้ที่จริงแล้วสัญลักษณะดังกล่าวนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องใด ๆ กับเศษส่วนหรืออัตราส่วนเลย มันเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่นำมาเสนอเพื่อการสื่อสารให้ทราบถึงประสิทธิภาพของ นวัตกรรมดังกล่าวว่ามีผลเป็นเช่นใด โดยที่ E1 ตัวแรกแสดงประสิทธิภาพ (Effective) ของกระบวนการซึ่งอยู่ในรูปค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนจากแบบฝึกทั้งหมด ส่วน E2 แสดงประสิทธิภาพของผลโดยรวมซึ่งอยู่ในรูปค่าเฉลี่ยร้อยละของแบบทดสอบหลังการใช้นวัตกรรมผู้พัฒนานวัตกรรมอาจไม่เขียนแสดงประสิทธิภาพในรูป E1/E2 ก็ได้ เช่น อาจเขียนในรูป 80, 80 หรืออาจจะเขียนว่าใช้เกณฑ์ 80% ทั้งกระบวนการและผลโดยรวมก็ได้เกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 โดยทั่วไปนิยมเขียนตัวเลข หน้า และ หลังเป็นตัวเดียวกัน เช่น 80/80, 90/90 เป็นต้น แต่นั่นมิใช่ข้อกำหนดตายตัว ผู้พัฒนานวัตกรรมอาจจะตั้งเป็น 80/90 ก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการตั้งเกณฑ์ดังกล่าวแต่อย่างไรก็ตามในการตั้งเกณฑ์ประสิทธิภาพ (บางครั้งอาจใช้คำว่าเกณฑ์มาตรฐาน) ของนวัตกรรมนั้นไม่ควรตั้งให้ต่ำกว่า70 / 70

           นอกจากจะวัดประสิทธิภาพของนวัตกรรมแล้ว ผู้พัฒนาฯจะต้องพิจารณาประสิทธิผล ซึ่งเป็นความสามารถในการให้ผลอย่างชัดเจน แน่นอน ของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น ซึ่งนิยมวิเคราะห์และแปลผลได้ 2 วิธี คือ

1.จากการพิจารณาผลของการพัฒนาด้วยการเปรียบเทียบระหว่างจุดเริ่มต้น และจุดสุดท้ายด้วยการ pretest และ posttestเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังการใช้นวัตกรรมโดยใช้สถิติ ที(t-test)แบบกลุ่มสัมพันธ์ ซึ่งจะทำให้นำไปอ้างอิงถึงกลุ่มอื่น ๆ ห้องอื่น ๆ และในรุ่นหลัง ๆ ด้วย (มุ่งขยายผล) จึงต้องวิเคราะห์โดยใช้การทดสอบสมมติฐานด้วยการสถิติเชิงอนุมานเพื่อการอ้าง อิงไปยังประชากร

2. จากการหาดรรชนีประสิทธิผล (Effective Index) ซึ่งอยู่ในรูปอัตรส่วนดังสูตรต่อไปนี้
ดรรชนีประสิทธิผล = (ผลรวมของคะแนนหลังเรียนทุกคน - ผลรวมของคะแนนก่อนเรียนทุกคน) หารด้วย
(จำนวนนักเรียนxคะแนนเต็ม - ผลรวมของคะแนนก่อนเรียนทุกคน)

หมายเหตุ
ในการวิจัยโดยทั่วไป ยึดหลักต่อไปนี้ว่าเป็นกลุ่มตัวอย่างขนาด เล็ก กลาง และใหญ่
ขนาดเล็ก 5-20 หน่วย
ขนาดกลาง 21-40 หน่วย
ขนาดใหญ่ 41 หน่วยขึ้นไป

                                     

                     การหาประสิทธิภาพนวัตกรรม

การหาประสิทธิภาพนวัตกรรม
1. ตัวเลขที่กำหนดนั้นหมายถึง E1/E2 ครับ โดยตัวเลขนั้นการกำกำหนดขึ้นอยู่กับผู้วิจัยเป็นคนกำหนด โดยจะต้องคำถึงถึงองค์ประกอบดังนี้ 1.1 ธรรมชาติของรายวิชา หรือเนื้อหา ความยากกง่ายของรายวิชาหรือเนื้อหานั้น ถ้าง่ายก็ตั้งสูง เพราะผู้เรียนอาจจะสามารถผ่านได้ง่าย ถ้าเนื้อหายากก็ตั้งต่ำๆ หน่อย เช่น คณิตศาสตร์จะตั้งประมาณ 70/70 หรือ 75/75 เพราะธรรมชาติของวิชานั่นเอง1.2 สมรรถภาพของผู้เรียนว่า ผู้เรียนมีคนเก่งกี่คน ปานกลางกี่คน อ่อนกี่คน ประเมินโดยภาพรวมว่าอยู่ระดับไหน อันนี้ถ้าในห้องเรียนนั้น มีนักเรียนที่เรียนเก่งอยู่มาก ประสิทธิภาพของสื่อของเราก็ต้องสามารถช่วยยกระดับความรู้ให้เข้าใกล้ 100 ให้มากที่สุดตามไปด้วยนั่นเอง2. ความหมายหมายของ E1/E2 E1 คือ ประสิทธิภาพของกระบวนการ (กระบวนการในที่นี้ คือ กระบวนการ การจัดการเรียนการสอนระหว่างเรียนทั้งหมด โดยคิดจากคะแนนหลังเรียนของแต่ละหน่วย บท ของแต่ละเรื่อง) เช่น ตัวเลข 80 หมายถึง ผู้เรียนทั้งหมดได้ทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบย่อยได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 ซึ่งหาได้จากสูตร ผลรวมของคะแนน หารด้วย จำนวนผู้เรียนทั้งหมด คูณด้วย 100 แล้วหารด้วย ผมรวมของคะแนนเต็มของแบบทดสอบทุกชุด ก็จะได้ E1 E2 คือ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (ผลลัพธ์ในที่นี้หมายถึง หลังจากผู้เรียน เรียนจบกระบวนการ โดยคิดคะแนนจากหลังเรียน ได้มาจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์นั่นเองครับ) เช่น ตัวเลข 80 หมายถึง ผู้เรียนทั้งหมดได้ทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 หาได้จากสูตร ผลรวมของคะแนน หารด้วย จำนวนผู้เรียนทั้งหมด คูณด้วย 100 แล้วหารด้วย ผมรวมของคะแนนเต็มของแบบทดสอบหลังเรียน ก็จะได้ E2

การหาคุณภาพนวัตกรรม
การหาคุณภาพของนวัตกรรม มีวิธีการดังนี้
1. การตรวจสอบเบื้องต้น เป็นการนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องที่ทำนวัตกรรมนั้นโดยตรงอย่างน้อย 3 คนตรวจสอบ ถ้าผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 คนมีความเห็นสอดคล้องกัน 2 หรือ 3 คน แสดงว่าเนื้อหาและรูปแบบมีความถูกต้อง เที่ยงตรงและครอบคลุมจุดมุ่งหมายที่กำหนดซึ่งการตรวจสอบความสมบูรณ์ถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะนำไปทดลองใช้นั้นมักจะใช้ค่า IOC ในการพิจารณาคุณภาพของนวัตกรรม


การกำหนดคะแนนของผู้เชี่ยวชาญอาจจะเป็น +1 หรือ 0 หรือ -1 ดังนี้
+1 หมายถึง แน่ใจว่าถูกต้อง/สอดคล้อง/ตรงกับจุดประสงค์
0 หมายถึง ไม่แน่ใจ
-1 หมายถึง แน่ใจว่ายังไม่ถูกต้อง/ไม่สอดคล้อง/ไม่ตรงจุดประสงค์
ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้ต้องมีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป
2. การทดลองและพัฒนา เป็นการตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรม ที่ใช้กันโดยทั่วไปและเชื่อถือว่ามีมาตรฐาน
จะมี 3 ขั้นตอน ดังนี้
2.1 การทดลองแบบ 1 : 1 เป็นการนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปทดลองกับนักเรียน 3 คน ที่มีความสามารถแตกต่างกัน คือ เก่ง ปานกลาง และ อ่อน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบ การใช้งานและความสอดคล้องเหมาะสมในด้านต่าง ๆ อย่างละเอียดจากการสังเกตพฤติกรรมการใช้ของนักเรียนและนำมาแก้ไขข้อบกพร่องที่พบให้สมบูรณ์
2.2 การทดลองกลุ่มเล็ก เป็นการนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับนักเรียนตั้งแต่ 5 – 10 คน ที่มีความสามารถแตกต่างกันทั้ง เก่ง ปานกลาง และอ่อน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของนวัตกรรมที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น และนำผลมาแก้ไขอีกครั้งหนึ่ง
2.3 การทดลองกลุ่มใหญ่ เป็นการนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปทดลองกับนักเรียนตั้งแต่ 30 คนขึ้นไป เพื่อหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนวัตกรรม ซึ่งมีเกณฑ์ การพิจารณา ดังนี้
2.3.1 หาเกณฑ์ประสิทธิภาพของนวัตกรรม ซึ่งเกณฑ์ที่ยอมรับว่านวัตกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ คือ ด้านความรู้ ความจำ E1/E2 จะต้องมีค่า 80/80 ขึ้นไป ส่วนในด้านทักษะปฏิบัติ E1/E2 ต้องมีค่า 70/70 ขึ้นไป โดยที่ค่า E1/E2 ต้องไม่แตกต่างกันเกินกว่า ร้อยละ 5



E1 คือ ประสิทธิภาพของกระบวนการ
N คือ จำนวนนักเรียน
E2 คือ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ที่ได้จากคะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบหลังเรียนของนักเรียนทั้งหมด
B คือ คะแนนเต็มของการสอบหลังเรียน
2.3.2 หาค่าดัชนีประสิทธิผลของนวัตกรรม โดยการวิเคราะห์จากคะแนนเฉลี่ยที่นักเรียนทำได้กับคะแนนเต็มทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน ซึ่งเกณฑ์การยอมรับว่านวัตกรรมมีประสิทธิผลช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้จริง จะต้องมีค่าตั้งแต่ .50 ขึ้นไป



ค่าดัชนีประสิทธิผล = คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน - คะแนนเฉลี่ยก่อน
คะแนนเต็มหลังเรียน - คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน
ที่มา   https://www.gotoknow.org

T-test Independent

                                                      t-test แบบ Independent


                                        การทดสอบสมมติฐานการวิจัย ด้วยสถิติ t-test
     วันนี้ได้รวบรวมข้อความรู้เกี่ยวกับการใช้สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานที่นิยมใช้ในการวิจัย ที่เปรียบเทียบความแตกต่างของประชากร หรือกลุ่มตัวอย่าง ในตอนแรกจะเสนอเนื้อหาการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ด้วยสถิติ t-test ซึ่งมี 2 แบบ คือ t-test  แบบ Independent และ t-test  แบบ Dependent  ซึ่งมีวิธีการเลือกใช้และข้อตกลงเบื้องต้นในการใช้แตกต่างกัน ส่วนเนื้อหาตอนหลังมีสรุปเกี่ยวกับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ความแตกต่างที่ใช้กันบางตัว เช่น F-test   ANOVA เป็นต้น มีสาระสำคัญ ดังนี้ค่ะ
  การทดสอบที (t-test)  เป็นเทคนิคการทดสอบสมมติฐานชนิดหนึ่งที่นักวิจัยนิยมใช้การทดสอบ โดยวิธีการนี้ใช้ในกรณีข้อมูลมีจำนวนน้อย (n<30) ผู้ที่ค้นพบการแจกแจงของ t มีชื่อว่า W.S.Gosset เขียนผลงานชิ้นนี้ออกเผยแพร่โดยใช้นามปากกาว่า “student”ให้ความรู้ใหม่ว่า ถ้าข้อมูลมีจำนวนน้อย การแจกแจงจะไม่เป็นโค้งปกติตามทฤษฎี   ต่อมาการแจกแจงใหม่นี้มีชื่อว่า Student  t-distribution และเรียกกันเวลาใช้ทดสอบโดยคุณสมบัติการแจกแจงนี้ว่า t-test(ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ,2540, หน้า 240) สถิติทดสอบ t ใช้ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยใช้ได้กับกรณีที่มีประชากรหนึ่งกลุ่มและสองกลุ่ม (อรุณี  อ่อนสวัสดิ์, 2551 หน้า 185)

                                                     การใช้ t-test  แบบ Independent
                เป็นสถิตที่ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ( )ระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกันข้อมูลที่รวบรวมได้อยู่ในระดับ อันตรภาคหรืออัตราส่วน ใช้สถิติการทดสอบค่า tมีชื่อเฉพาะว่า  t-test for Independent Samples สถิติตัวนี้ใช้มากทั้งในการวิจัยเชิงเปรียบเทียบและการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งมี 2กรณี 
(ชูศรี วงศ์รัตนะ, 2549, หน้า 86)
 ข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติทดสอบ กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน(Two Independent Samples)
t-test (Independent)
  1. กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มไม่สัมพันธ์กัน(เป็นอิสระต่อกัน)
  2. ค่าของตัวแปรตามในแต่ละหน่วยเป็นอิสระต่อกัน
  3. กลุ่มตัวอย่างได้มาอย่างสุ่มจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติ
  4. ไม่ทราบความแปรปรวนของแต่ละประชากร
(ศิริชัย  กาญจนวาสี,ทวีวัฒน์  ปิตยานนท์ และดิเรก  ศรีสุโข(2551, หน้า 58)
                                         
                           การใช้ t- test แบบ dependent
      เป็นสถิตที่ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย( )ระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน และกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวได้แก่ สถิติการทดสอบค่า tมีชื่อเฉพาะว่า  t-test  for dependent Samples ซึ่งมักพบในการวิจัยเชิงทดลองที่ต้องการเปรียบเทียบผลระหว่างก่อนทดลองกับหลังทดลองหรือเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่ได้จากการจับคู่(ชูศรี วงศ์รัตนะ, 2549, หน้า 87)ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2540, หน้า 240) กล่าวว่า ข้อมูลที่เรียกว่า คู่(pair observation) นั้นมีหลายประเภท แต่คุณสมบัติสำคัญจะต้องเกี่ยวข้องกัน (Dependent Sample)
มีข้อมูลอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ
ประเภทแรก คือ ข้อมูลที่สอบหรือวัดจากคนเดียวกัน 2 ครั้ง
ข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติทดสอบ t-test (Mean One Sample Test)  กรณีมีกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม(One Sample)
  1. ข้อมูลอยู่ในมาตรอันตรภาค(Interval Scale) หรือมาตราอัตราส่วน(Ratio Scale)
  2. กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มได้จากประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติ
  3. ค่าของตัวแปรตามแต่ละหน่วยเป็นอิสระต่อกัน
  4. ไม่ทราบค่าความแปรปรวนของประชากร
(ศิริชัย  กาญจนวาสี,ทวีวัฒน์  ปิตยานนท์ และดิเรก  ศรีสุโข(2551, หน้า 55)
ประเภทที่สอง เป็นประเภทคุณลักษณะของตัวอย่างที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมากที่สุดเลือกมาเป็นคู่ๆ(math-pairs) เช่น เด็กฝาแฝด  สามีภรรยา  เชาว์ปัญญาเท่ากัน รสนิยมเดียวกัน เป็นต้น  ตอนเลือกมาจะเป็นคู่ๆ แต่ตอนทำการทดลอง หรือศึกษาจะต้องสุ่มอีกครั้ง การทดสอบความแตกต่างจะใช้  t- dependent
ข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติทดสอบกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน(Two Related-Samples)
t-test (Dependent or Matched Pair Sample)
  1. ข้อมูล 2 ชุดได้มาจากลุ่มตัวอย่างเดียวกัน หรือมาจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม สัมพันธ์กัน
  2. ค่าของตัวแปรตามแต่ละหน่วยเป็นอิสระต่อกัน
  3. กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติ
  4. ไม่ทราบความแปรปรวนของประชากร
(ศิริชัย  กาญจนวาสี,ทวีวัฒน์  ปิตยานนท์ และดิเรก  ศรีสุโข(2551, หน้า 56-57)
 บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์(2549 : 381) สรุปไว้ว่า สถิติที่ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มเดียว มี 2 ตัว คือ  Z-test  กับ  t-test
      Z-test  ใช้ในกรณีที่ ทราบความแปรปรวนของประชากร(µ) ถ้าไม่ทราบจะใช้ t-test  แต่มีตำราหรือนักสถิตหลายท่าน เสนอว่า หากไม่ทราบความแปรปรวนของประชากรถ้ามีตัวอย่างขนาดเล็ก น้อยกว่า 30 ให้ใช้ t-test   แต่ถ้ามีขนาดใหญ่ คือ มากกว่า 30 จะใช้ Z-test ก็ได้เป็นการใช้เพื่ออนุโลมกัน มิใช่ว่าจะใช้แทนกันได้เลย เพราะว่า ค่าวิกฤติของ t-test   ขึ้นอยู่กับชั้นความเป็นอิสระ ส่วนของ Z-test  ไม่ขึ้นอยู่กับชั้นความเป็นอิสระ จากตารางการแจกแจงแบบ t จะเห็นว่า เมื่อชั้นของความเป็นอิสระเพิ่มขึ้น ค่า t จะใกล้เคียงกับค่า Z และเกือบจะเท่ากัน เมื่อชั้นของความเป็นอิสระเท่ากับ 120 เป็นต้นไป ฉะนั้น ถ้าไม่ทราบความแปรปรวนของประชากร จะใช้ Z-test  แทน t-test  สิทธิ์  ธีรสรณ์(2552, หน้า 152-153) สรุปไว้ว่า ในกรณีที่เป็นสถิติอิงพารามิเตอร์ ถ้าเป็นการเปรียบเทียบคนสองกลุ่ม ก็ใช้ t-test   ซึ่งแบ่งเป็น  t-test   for  Independent  Means สำหรับการเปรียบเทียบสองกลุ่ม ส่วนถ้าเป็นการเปรียบเทียบคนกลุ่มเดียวกัน ก็ใช้  t-test   for  Dependent  Means  ส่วนถ้าเป็นการเปรียบเทียบคนมากกว่าสองกลุ่ม ก็ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน(Analysis of Variance หรือ ANOVA) 

                   การวิเคราะห์ความแตกต่าง(Analysis Of differences) กรณีประชากรสองกลุ่ม
      นงลักษณ์ วิรัชชัย(2552, หน้า 5) สรุปไว้ว่า สถิติอนุมานเบื้องต้นใช้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยอาจเปรียบเทียบได้ทั้งค่าเฉลี่ย ความแปรปรวน สัดส่วน สหสัมพันธ์  สถิติที่ใช้แตกต่างกันตามลักษณะข้อมูล  เช่น การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม เมื่อมีกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ รู้ความแปรปรวนของประชากรใช้ Z-testเมื่อมีกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กใช้ t-testซึ่งมีสูตรการคำนวณแยกตามลักษณะความแปรปรวนของกลุ่มประชากรว่ามีขนาดเท่ากัน หรือไม่เท่ากัน และลักษณะของกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระหรือไม่เป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความแปรปรวนสองกลุ่มใช้ F-test การวิเคราะห์ความแตกต่างของสัดส่วนระหว่างกลุ่มใช้ Z-test และการวิเคราะห์ความแตกต่างของสหสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มใช้ Z-test หรือ X สถิติที่ใช้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตามจำนวนกลุ่มและระดับการวัดมาตราอัตราส่วน(ค่าเฉลี่ย,S2)



ที่มา https://www.gotoknow.org/

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

Content Managment System

เป็นเว็บความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ มีเทคนิกวิธีต่างๆ ใช้เราได้จดจำคำศัพท์ได้ง่ายยิ่งขึ้น เเละคำศัพท์ที่พบเจอหรือใช้บ่อยๆในชีวิตประจำวันhttp://arjarnbomb.blogspot.com/search?updated-max=2014-07-06T03:30:00%2B07:00&max-results=9&m=1

Learning Managment System

    LMS เป็นระบบการจัดการเรียนการสอนE-Learning Managment System : LMS ด้วยMoodle คือปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการพัฒนาการศึกษา เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้เเบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยส่วนประกอบสำคัญได้เเก่ ระบบจัดการรายวิชา การสร้างเนื้อหา ผู้เรียน ติดตามประเมินผล การสื่อสารเเละปฏิสัมพันธ์  Moodle เป็น open Source Sofware เป็นCourse Managment System (CMS) โดยใช้ PHP http://www.wu.ac.th/